top of page
BUH3.jpeg
BUH1.jpeg
BUH2.jpeg
  • ผลตรวจโควิดจากโรงพยาบาลสามารถทราบสายพันธุ์ของเชื้อได้หรือไม่?
    ปัจจุบันการตรวจ rtPCR สำหรับโควิทที่รพ.ม.บูรพาวัตถุประสงค์เพื่อวินิจฉัย จะไม่ได้ส่งตรวจเพื่อแยกสายพันธุ์
  • อาการจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายได้หรือไม่?
    อาการจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรสเป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วย ซึ่งจะค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ โดยอาจใช้ระยะเวลาหลายสัปดาห์
  • ยาฟ้าทะลายโจรสามารถรับประทานร่วมกับยาต้านไวรัสได้หรือไม่?
    ผู้ป่วยที่แพทย์พิจารณาให้รับประทานยาต้านไวรัส หากผู้ป่วยใช้ยาฟ้าทะลายโจรอยู่ ให้หยุดยาฟ้าทะลายโจร เนื่องจากยาสามารถทำปฏิกิริยากันทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ และหากรับประทานยาต้านไวรัสครบแล้วไม่แนะนำให้รับประทานยาฟ้าทะลายโจรต่อ
  • ถ้าท่านตั้งครรภ์ หรือสงสัยการตั้งครรภ์จะสามารถทานยาต้านไวรัส favipiravir ได้หรือไม่?
    หากท่านสงสัยการตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์ที่ดูแลทันทีและตรวจการตั้งครรภ์ (UPT) ก่อนเริ่มยา ฟาวิพิลาเวีย (favipiravir) เนื่องจากยาอาจมีผลต่อบุตรในครรภ์โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาชนิดของยาต้านไวรัสอีกครั้ง
  • หากท่านติดเชื้อโควิดขณะตั้งครรภ์ บุตรในครรภ์จะสามารถติดเชื้อร่วมด้วยหรือไม่?
    สามารถพบได้น้อย ประมาณร้อยละ 2-5 และส่วนใหญ่ของทารกจะไม่พบอาการที่รุนแรง
  • ต้องฉีดวัคซีนหลังหายจากโควิดหรือไม่?
    ควรฉีดวัคซีนโควิด หลังจากที่หายสนิทแล้วเป็นระยะเวลา 3 เดือน
  • ถ้าท่านมีโรคประจำตัวอยู่เดิมจะสามารถทานยาเดิมได้หรือไม่และยาใดบ้างที่ควรระมัดระวังในการใช้?
    โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เกาท์ สามารถรับประทานต่อได้ โรคเบาหวาน หากไม่มีอาการสามารถรับประทานยาต่อได้ แต่หากมีอาการเช่น คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย รับประทานอาหารได้น้อยให้รีบแจ้งแพทย์ทันที ยารักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืด ทั้งชนิดรับประทานหรือยาสูดเข้าคอ และยาพ่นจมูก สามารถใช้ต่อได้ ยาต้านไวรัสเช่น ไวรัสตับอักเสบ, HIV สามารถรับประทานต่อได้ ยากดภูมิ หรือยาสเตียรอยด์ แนะนำให้แจ้งแพทย์ก่อนอาจต้องพิจารณาปรับขนาดยา หรือหยุดยา
  • หลังจากครบกำหนด home isolation แล้ว ต้องตรวจหาเชื้ออีกรอบหรือไม่?
    หลังจากอาการดีขึ้นจนหายสนิทแล้วยังสามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสในน้ำมูกหรือน้ำลายของผู้ป่วยได้ ซึ่งอาจเป็นซากเชื้อหลงเหลือที่ร่างกายกำจัดไม่หมด ดังนั้นแนวทางการปฏิบัติจึงไม่จำเป็นต้องทำ swab ก่อนที่ผู้ป่วยออกจากสถานพยาบาลเนื่องจากไม่มีผลเปลี่ยนแปลงการรักษา ผู้ป่วยที่พ้นระยะการแพร่เชื้อแล้วสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติตามแนวทางวิถีชีวิตใหม่ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง และทำความสะอาดมือบ่อยๆ
  • ในขณะรักษาการติดเชื้อ มีอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือไม่?
    สามารถรับประทานได้ตามปกติโดยเป็นอาหารที่ปรุงสุก สะอาด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอลล์และการสูบบุหรี่
  • สามารถขอรับใบรับรองแพทย์และใบผลตรวจได้หรือไม่?
    ท่านสามารถรับใบรับรองแพทย์และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยแจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ในline โดยรับได้ในวันที่ผู้ป่วยครบกำหนดการกักตัวและทำเรื่องจำหน่ายออกจากระบบ home isolation พร้อมกับการคืนอุปกรณ์
  • การทำ home isolation ถือเป็นผู้ป่วยในหรือไม่ สามารถเบิกประกันชีวิตในกรณีทำประกันโควิดไว้ได้หรือไม่?
    การทำ home isolation ถือเป็นกรณีเทียบเท่าผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสามารถดำเนินการเคลมประกันได้ตามเงื่อนไขของผู้ป่วยที่ได้ทำกับบริษัทประกันไว้
  • การเดินทางมา รพ – กลับบ้าน มีรถรับส่งหรือไม่ (กรณี isolation ที่หอพักพยาบาล)?
    การเดินทางมารพ.หรือหอพักพยาบาลแนะนำให้ใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือสามารถขอรถที่รพ.จัดหาให้ (ขอสงวนในกรณีผู้ป่วยอาศัยอยู่ในตำบลแสนสุขเท่านั้น เนื่องจากรถมีจำนวนจำกัด) โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้รถสาธารณะ แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้รถสาธารณะควรใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้นและเว้นระยะห่างจากผู้อื่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ การเดินทางกลับหากครบระยะเวลากักตัวแล้วท่านสามารถเดินทางกลับได้เองเนื่องจากพ้นระยะแพร่เชื้อแล้ว
bottom of page